วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 23 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 23 มิ.ย. 2558
การออกแบบแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
                  การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้าน บรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรนั้น ครูจำเป็นต้องวางแผนการจัดประสบการณ์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสม และบรรลุผลตามจุดหมายที่กำหนด การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์กับเด็กปฐมวัยอย่างเต็มที่ ครูจะต้องสามารถตอบคำถามพื้นฐานต่อไปนี้
        
       1. วางแผนการจัดประสบการณ์สำหรับใคร ครูต้องรู้จักเด็กที่ตนเองรับผิดชอบ รู้พัฒนาการตามวัย ความสนใจ ความถนัด ความสามารถ รวมทั้งรู้ว่าควรปรับปรุงและพัฒนาเด็กคนใดในเรื่องใดบ้าง
        
         2. ต้องการให้เด็กเรียนรู้อะไร ครูต้องรู้จุดหมายของการจัดประสบการณ์ ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป
        
        3. เด็กจะเรียนรู้เรื่องที่ต้องการให้เรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร ครูต้องรู้จักคิดหาวิธีสอน และสื่อเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
        
        4. รู้ได้อย่างไรว่าเด็กเกิดการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ครูต้องรู้วิธีประเมินผล สร้างและใช้เครื่องมือประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม
         
     เมื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นแล้ว ครูสามารถนำคำตอบมาใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบการจัดประสบการณ์ ครูควรรวบรวมวัสดุอุปกรณ์และแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเขียนแผนการจัดประสบการณ์ตามแนวทางการจัดกิจกรรมหลักทั้ง กิจกรรม ทั้งนี้ครูอาจกำหนดกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนไว้อย่างกว้างๆก่อนแล้วจึงเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่มีรายละเอียดที่ครอบคลุมจุดประสงค์ สาระการเรียนรู้  กิจกรรมสื่อและการประเมินผล
        
สิ่งสำคัญที่ครูควรคำนึงถึงในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่รูปแบบการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เช่น การเขียนแบบตาราง แบบกึ่งตาราง หรือแบบความเรียง แต่ควรคำนึงถึงการออกแบบกิจกรรมตามหลักการทำงานของสมอง การจัดการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำและแนวทางการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ไม่ควรให้ความสำคัญกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มากเกินกว่าการจัดประสบการณ์จริงสำหรับเด็ก แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้แผนการจัดประสบการณ์เป็นสิ่งที่ถูกละเลยเพราะแผนการจัดประสบการณ์ที่ดีย่อมนำไปสู่การสอนที่ดี และดีกว่าการจัดประสบการณ์โดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าอย่างแน่นอน
        
             เมื่อนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้แก่เด็กปฐมวัย ครูควรให้ความสำคัญกับการสอนที่มีการการออกแบบการสอนไว้ล่วงหน้า พอๆ กับประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ หลังจากจัดประสบการณ์แล้วควรทำบันทึกหลังสอน โดยประเด็นที่ควรบันทึก ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ของเด็กตามจุดประสงค์ของการจัดประสบการณ์ การตอบสนองของผู้เรียนต่อการจัดประสบการณ์ ข้อสังเกตเกี่ยวกับสื่อ การออกแบบการจัดประสบการณ์ และลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก แล้วนำผลที่บันทึกนี้มาใช้ในการปรับแผนการจัดประสบการณ์ในวันต่อๆ ไปให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 22 มิ.ย.2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 22 มิ.ย.2558

       คณะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับวันนี้ครูให้เด็กๆทำกิจกรรมเป่าสีด้วยหลอด ก่อนจัดกิจกรรมครูได้ให้เด็กๆเลือกแล้วว่าจะทำกิจกรรมอะไรดี และเด็กๆได้เลือกกิจกรรมการเป่าสีด้วยหลอดนี้ ครูจึงได้จัดตามที่เด็กต้องการ ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คือ 1.พัฒนากล้ามเนื้อมือ 2.พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ 3.พัฒนาภาษาในการอธิบายผลงานของตนเอง 4.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ 5.ผ่อนคลายอารมณ์เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินขณะทำกิจกรรมและพึงพอใจในผลงานของตนเอง



วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 19 มิ.ย. 2558


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสังเกตุการร่วมกิจกรรมของเด็ก เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะได้ตามคำสั่งของครูเด็กมีส่วนร่วม

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดวันที่ 18 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิดวันที่ 18 มิ.ย. 2558
จากการให้เด็กดื่มนมจากกล่องเมื่อวานนี้ ผู้ปกครองมารับลูกถามลูกว่ากินนมหมดมั้ยเด็กกินไม่หมดกล่อง ด้วยความห่วงว่าลูกจะร้องไห้อยากดื่มนมจากขวด แม่เทนมใส่ขวดให้ในตอนเช้าที่มาส่งเลย
เพราะกลัวลูกจะไม่ได้กินนม

การติดขวดนม มีผลต่อการ ไม่ยอมกินข้าว บางรายก็ทำให้ได้อาหารไม่พอ ขาดวิตามินเกลือแร่ เป็นเด็กผอม บางรายก็ดูดแต่นมมาก จนเป็นเด็กอ้วน  ในแง่พัฒนาการการติดขวดนม ทำให้เด็กเสียโอกาส การพัฒนาทักษะในการพูด การเคี้ยวและการใช้มือในการทำกิจกรรมอื่นๆ  นับว่าเรื่องนี้เป็น ต้นตอก่อปัญหาสุขภาพกับเด็กอย่างไม่รู้ตัว สำหรับพ่อแม่

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 17 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 17 มิ.ย. 2558
สัปดาห์เป็นสัปดาห์ที่ 4 ของการมาเรียนยังพบว่าเด็กนักเรียนบางคนยังดื่มนมจากขวดนมอยู่ประมาณ 4 คน คุณครูจะถามเด็กหนูดูดขวดดีกว่ามั้ยค่ะฟันหนูจะไม่ผุและฟันสวย เด็กก็ทำตามที่ครูบอกได้ค่ะแต่ทานนมไม่หมดกล่อง เพราะว่าเคยดื่มนมจากขวดนม

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 16 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 16 มิ.ย. 2558
การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันของเด็กในสัปดาห์นี้เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่นจำรองเท้าของตนเองได้  ใส่รองเท้าเองได้  ทานข้าวเอง  เข้าห้องน้ำเอง  การจำสัญลักษณ์ของใช้ส่วนตัวเด็กของตัวเองได้

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 15 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันที่ 15 มิ.ย.  2558
วันนี้กิจกรรมสร้างสรรค์เด็กๆปั้นดินน้ำมันนั้นควรเริ่มจากการนวด คลึงดินน้ำมันจนอ่อนนุ่มและสอนพื้นฐานการปั้นเป็นรูปกลมๆโดยใช้ฝ่ามือทั้ง ช่วยคลึงดินน้ำมันเมื่อเด็กๆปั้นเป็นก้อนกลมๆได้แล้วลองให้ปั้นคลึงให้เป็นรูปหยดน้ำจากนั้นดัดแปลงให้เป็นรูปทรงรูปร่างต่างๆและนำชิ้นส่วนต่างๆมาเชื่อมต่อกันก็จะได้ผลงานเป็นรูปร่างที่ต้องการ
การปั้นดินน้ำมันเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือมัดเล็กให้แข็งแรงโดยครูปฐมวัยจะนำมาเป็นกิจกรรมเริ่มต้นสำหรับเด็กปฐมวัยก่อนจะพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้เริ่มจับดินสอเพื่อฝึกเขียนโดยอย่างน้อยเด็กจะได้ฝึกหัดขยำ จับ กดและปั้นตามแต่จินตนาการของตนเองอาจจะเป็นรูปร่างบ้างไม่เป็นบ้างก็ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน..ซึ่งส่วนใหญ่เวลาให้เด็กได้ปั้นดินน้ำมันเด็กจะมีสมาธิ จิตใจจดจ่อกับสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่ จินตนาการของเด็กแต่ละคนก็จะถ่ายทอดออกมาทางผลงาน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดวันที่ 12 มิ.ย. 2558

 สะท้อนคิดวันที่ 12 มิ.ย. 2558
วันนี้ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการของตัวเอง การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง เป็นการจัดให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและจังหวะ   การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นการให้เด็กสมมุติตนเองเป็นตัวละครต่างๆ ตามเนื้อเรื่องในนิทานหรือเรื่องราวต่างๆ อาจมีวัสดุอุปกรณ์ประกอบ เช่น หุ่นสวมศีรษะ ที่คาดศีรษะรูปคน สัตว์ เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ของจริงต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกการสะท้อนคิดวันที่ 11 มิ.ย . 2558

บันทึกการสะท้อนคิดวันที่ 11 มิ.ย.2558
จัดกิจกรรมวันไหว้ครู    
      เดือนมิถุนายนวนเวียนมาถึงอีกครั้ง บรรดานักเรียนทั้งหลายคงจำกันได้ดีว่า วันพฤหัสบดีแรกของเดือนมิถุนายน จะเป็นวันไหว้ครู ซึ่งตามโรงเรียนต่างๆ ก็จะมีพิธีการระลึกถึงคุณครูบาอาจารย์ 
 ด้วยเหตุนี้เอง "การบูชาครู" หรือ "การไหว้ครู" จึงเป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ และมีอยู่ในแทบทุกสาขาอาชีพของคนไทย ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพ และระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต 
   ในความหมายของ "การไหว้ครู" ก็คือ การที่ศิษย์แสดงความเคารพ ยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้ ศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการ จึงพร้อมใจกันปวารณาตัวรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุปลายทางแห่งการศึกษาตามที่ตั้งใจเอาไว้ ซึ่งการไหว้ครูนี้ นอกจากจะเป็นธรรมเนียมอันดีงามที่มีส่วนโน้มน้าวจิตใจคนให้รักษาคุณความดี และช่วยธำรงรักษาวิทยาการให้สืบเนื่องต่อไปแล้ว การที่ศิษย์แสดงความเคารพยอมรับนับถือครูตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีส่วนทำให้ครูเกิดความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ อยากมอบวิชาความรู้ให้อย่างเต็มที่ และศิษย์เองก็จะมีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิด เกิดมั่นใจว่าตนจะมีผู้คุ้มครองดูแล สั่งสอนให้ไปสู่หนทางแห่งความดีงาม และความเจริญก้าวหน้าแน่นอน 





วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกการสะท้อนคิด วันที่ 10 มิ.ย. 2558

บันทึกการสะท้อนคิด วันที่ 10 มิ.ย. 2558
กิจกรรมวันนี้ประชุมผู้ปกครองและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคณะกรรมการ ผู้ปกครอง ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่ายเข้าร่วมประชุมอย่างพร้องเพียงกัน ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือกับการก่อตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งใหม่ขึ้นเพื่อให้ขนาดพื้นที่ห้องเพียงพอสำหรับเด็ก ปัญหาตอนนี้คือห้องไม่เพียงพอสำหรับอัตราของเด็ก  และสนทนากับผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทางศูนย์จะเน้นให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง4ด้านโดยผ่านกิจกรรมการเล่นไม่เน้นการอ่านและเขียนจะเน้นพัฒนาการกล้ามเนื้อ เช่นปั้นดินน้ำมัน การเล่นน้ำเล่นทราย ต่อบล็อค ร้องเพลง
เล่านิทานจากภาพประกอบ ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีกับเด็ก เพราะเด็กในวัยนี้มีพฤติกรรมเลียนแบบ ผลจากการวันนี้ผู้ปกครองและคณะกรรมการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี




วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดวันอังคารที่ 9 มิ.ย.2558

บันทึกสะท้อนคิดวันอังคารที่ 9 มิ.ย.2558
การสะท้อนตนเองของเด็ก เป็นคำพูดหรือข้อความที่สะท้อนความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกจากการสนทนา การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของเด็กขณะทำกิจกรรม ซึ่งอาจบันทึกด้วยแถบบันทึกเสียงหรือแถบบันทึกภาพผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ ความสามารถ ทักษะจิตนิสัยของเด็ก ครูจะนำผลงานของเด็กมาใช้ดูพัฒนาการและกระบวนการทำงานของเด็ก ครูส่วนใหญ่มักจะเก็บผลงานการเขียนและผล งานศิลปะ อย่างไรก็ตามครูควรเก็บผลงานหลากหลายประเภทของเด็ก เช่น ภาพเขียน การร่วมระดมความคิดและเขียนออกมาในลักษณะใยแมงมุม การแสดงออกทางดนตรี การก่อสร้างในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างภาษาพูด เป็นต้น นอกจากการเก็บข้อมูลหลักฐานเพื่อประเมินการเรียนรู้และประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยข้างต้นแล้ว สารนิ ทัศน์ยังมีประโยชน์ต่อการพัฒนาครู

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ที่8 มิ.ย. 2558

บันทึกสะท้อนคิด วันจันทร์ที่8 มิ.ย. 2558
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่4  เด็กไม่ร้องงอแงเหมือนอาทิตย์ที่ผ่านมาเด็กเริ่มเข้าใจทำไมพ่อแม่ถึงพามาโรงเรียนเพราะคิดว่าพ่อแม่จะทิ้งเค้ากลัวพ่อแม่ไม่มารับ   วันเปิดเทอมแรกของชีวิต คือวันแรกที่เด็กๆ ต้องจากอ้อมอกพ่อแม่ เพื่อก้าวสู่สังคมใหม่ ความกลัว ความกังวลใจ และความไม่ไว้วางใจในโลกใหม่ของเด็กๆ ย่อมเกิดขึ้นต่พอมาถึงสัปดาห์นี้เด็กยิ้มร่าเริงไม่ร้องไห้ เริ่มสนุกกับกิจกรรมที่คุณครูสอน เด็กใกล้ชิดกับครูมากขึ้นกล้าถามกล้าพูดมากขึ้น เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัวเด็กด้วยตัวเอง รู้จักชื่อเพื่อน ชื่อครู ช่วยเหลือตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน ทานข้าวได้เอง ใส่รองเท้าได้เอง เข้าห้องน้ำเองได้  รู้จักการรอคอยลำดับก่อนหลังเมื่อลูกต้องไปโรงเรียนวันแรก เปลี่ยนชั้นเรียนใหม่หรือเปลี่ยนโรงเรียนใหม่ สิ่งที่แม่ห่วงส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องลูกจะกินอาหารได้หรือไม่ ครูจะดูแลลูกได้ใกล้ชิดหรือไม่ เวลาเด็กปวดท้อง จะเข้าห้องน้ำใครจะช่วยเด็ก เพื่อนจะแกล้งหรือไม่ สารพัดที่แม่กังวลและเป็นห่วง ในเรื่องนี้ อยากบอกกับผู้เป็นแม่ทุกคนว่าในเมื่อเราเป็นคนตัดสินใจเลือกโรงเรียนให้กับลูก ก็ต้องไว้วางใจโรงเรียน และต้องเชื่อมั่นในโรงเรียน เพราะเข้าใจระบบโรงเรียน การที่เด็กต้องไปโรงเรียนเขาต้องเรียนรู้กฎระเบียบและวิธีการใช้ชีวิต การช่วยเหลือตนเอง อย่างเช่นการกินข้าว ต้องฝึกกินข้าวด้วยตัวเอง ที่โรงเรียนไม่มีใครป้อนอาหารให้เหมือนที่บ้าน เด็กๆ ทุกคนต้องกินข้าวเอง พ่อแม่ต้องเข้าใจและต้องช่วยสนับสนุนทางโรงเรียน ให้เด็กรู้จักช่วยตนเองให้มากที่สุด แม้ว่าเด็กจะอยู่ที่บ้านพ่อแม่ก็ไม่ควรตามใจหรือป้อนข้าวให้ แต่ควรฝึกและใช้คำชม พูดจากับเด็กด้วยคำพูดที่ดีๆ ชมเชย ให้กำลังใจ เมื่อลูกกินข้าวเองก็บอกว่าเก่งมากลูก เดี๋ยวแม่จะไปเล่าให้ครูฟังว่าหนูเก่งกินอยู่ที่บ้านก็กินข้าวเองได้ ไม่ต้องมีใครป้อนอีกแล้ว หรือการที่ให้ลูกแต่งตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องฝึกให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด นอกจากนี้ อยากฝากถึงพ่อแม่ทุกคนว่าในบริบทโรงเรียนและบริบทที่บ้านมีความแตกต่าง กัน พ่อแม่เองต้องเข้าใจ แม้ว่าโรงเรียนจะพยา ยามทำโรงเรียนให้คล้ายกับบ้านมากที่สุดแล้วก็ ตาม เพื่อให้เด็กๆ ทุกคนมีความอบอุ่นใจที่ได้ก้าวเข้ามาสู่อ้อมอกของโรงเรียน